โรคความดันโลหิตสูงเพชฌฆาตเงียบที่พรากชีวิต


มีผู้คนจำนวนมากที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยไม่ทราบว่าตนเองเป็นภาวะนี้อยู่ เพราะไม่ค่อยปรากฏอาการในในช่วงช่วงแรกๆ แต่พอปล่อยไว้นาน ๆ แบบไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี แรงดันในหลอดเลือดที่สูงจะทำลายผนังหลอดเลือดและอวัยวะที่สำคัญไปทั่วร่างกาย จนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ไม่ต่างอะไรกับหม้อต้มน้ำที่ปิดฝา มีน้ำเดือดปุดๆจนกระทั่งกระฉอกหกเลอะเทอะ หากไม่ระมัดระวังดูแลดีๆ สามารถทำร้ายเซลล์ผิวให้บอบบางเราได้เหมือนกัน

คำถามคือ แล้วความดันปกติ คือ เท่าไหร่ โดยทั่วไปแล้ว จะอยู่ที่ ไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท (ความดันขณะบีบตัวและดันเลือดออกจากหัวใจ / ความดันขณะหัวใจคลายตัว) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ช่วงอายุเด็กและผู้ใหญ่

อายุ 3-5 ปี ความดันอยู่ช่วง 104-116/63-74
อายุ
6-9 ปี ความดันอยู่ช่วง 108-121/71-81
อายุ
10-12 ปี ความดันอยู่ช่วง 114-127/77-83

ส่วนความดันโลหิตของผู้ใหญ่ มีลักษณะดังนี้

ความดัน ไม่เกิน 120/80      ปกติ                                                        คำแนะนำ อายุเกิน 35 ปีให้หมั่นวัดความดันโลหิต
ความดัน
120-139/80-89   ค่อนข้างสูง                                             คำแนะนำ หมั่นวัดความดันโลหิตควบคุมอาหาร
ความดัน
140-159/90-99   มีอาการโรคความดันโลหิตสูง             คำแนะนำ พบแพทย์
ความดัน
160-179/100-109 มีอาการโรคความดันโลหิตสูง           คำแนะนำ พบแพทย์
ความดัน มากกว่า
180/110   อันตรายมาก                                      คำแนะนำ พบแพทย์ทันที


อาการโดยทั่วไป จะได้ยินเสียงดังในหู เหมือนมีเสียงอะไรอยู่ข้างใน อีกทั้งยังปวดศีรษะมากบริเวณท้ายทอย และยังมีอาการเวียนศีรษะ หงุดหงิดง่าย ขาบวมและรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติอีกด้วย แต่ถ้ามีอาการหนักแบบปวดศีรษะและอาเจียนอย่างรุนแรง รู้สึกเจ็บอกและปวดขามากๆ แม้จะเป็นๆ หายๆก็ตาม หรือตาข้างหนึ่งสูญเสียการมองเห็นไปชั่วขณะ ต้องรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมองตีบและนำไปสู่อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือขั้นรุนแรงอาจแตกนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับการตรวจความดันทุกครั้ง เพื่อป้องกันอาการชักหรือคลอดก่อนกำหนดนะคะ

                ซึ่งการรักษานั้น แพทย์รักษาตามอาการ เช่นหากเป็นเนื้องอกก็จะผ่าตัดเนื้องอกออกเพื่อให้ความดันกลับมาสู่ปกติ แต่โดยส่วนใหญ่ มากกว่า
95% จะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดซึ่ง อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ถ้าพ่อแม่เป็นลูกก็มีโอกาสที่จะเป็นได้มากกว่า ลูกที่พ่อแม่ไม่เป็น นอกจากนี้ยังรวมถึงพฤติกรรมของผู้ป่วย หากชอบทานอาหารเค็ม หรือชอบสูบบบุหรี่ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือมีความเครียด แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมอาหารและรับประทานยาลดความดันอย่างต่อเนื่องค่ะ 
ส่วนการป้องกัน สามารถทำได้โดย

·         การควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 2 ถึง 5 ครั้ง ซึ่งการออกกำลังกายแบบเบาเช่นทำความสะอาดบ้านจะเผาผลาญพลังงาน 120-150 กิโลแคลอรี่ แบบปานกลาง เช่น ขี่จักรยาน เต้นรำ เดินเร็วจะเผาผลาญ 185-230 กิโลแคลอรี่ ออกกำลังกายแบบมากเช่น เล่นฟุตบอล จ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ จะเผาผลาญ 240-365 กิโลแคลอรี่ 

·         การลดการทานเค็ม โดยห้ามกินเกลือเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน (โซเดียม 2400 มิลลิกรัม) เกลือเมื่อละลายในเลือด จะทำหน้าที่ดึงน้ำเข้ามาในกระแสเลือดทำให้ความดันสูง ทั้งยังทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาขึ้นเป็นผลทำให้เกิดอันตรายจากหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย

·         ไม่สูบบุหรี่ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มืนเมาทุกชนิด
·         จัดการความเครียด ผลการวิจัยจากสรรพสาร วงการแพทย์ ปี 2549 โดยคณะผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจออสเตรเลีย จากกลุ่มตัวอย่างชาย 1800 คน พบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความเครียดมีภาวะเสียงหลอดเลือดช้ำเป็นอันตรายต่อชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีอาการเครียด มากถึง 43%

·         รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ประกอบไปด้วยผักผลไม้ ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม

·         พักผ่อนให้เพียงพอ

·         ควรตรวจความดันอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปี  
ความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ถ้ารู้จักดูแลตนเองให้เป็นนะคะ อย่างไรซะขอให้ทุกท่านโชคดีสุขภาพแข็งแรง อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แก่ทุกท่านค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น