โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่คุ้นหู จากคำเล่าลือว่าเกิดจากอาการเครียด ความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวัง หรือการสูญเสีย และมีแนวโน้มโอกาสคิดสั้นฆ่าตัวตายอีกด้วย ถือเป็นโรคยอดฮิตที่หลายคนอาจเป็นแต่ไม่รู้ตัวเลยนะคะ แถมโรคนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อต้องพบกับความล้มเหลว ไม่ได้ดังใจ การพลัดพรากจากคนรัก ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าขึ้นได้ค่ะ


ซึ่งจะต่างจากภาวะซึมเศร้า ตรงที่อารมณ์ซึมเศร้านานต่อเนื่องถึง 2 สัปดาห์ ไม่มีความสนใจในกิจกรรมอื่นๆ เลย แต่ภาวะซึมเศร้านั้น เมื่อมีเหตุอะไรมากระทบให้เสียใจ หวั่นไหว จะรู้สึกเจ็บปวด เศร้า แต่ไม่นานจะปรับตัวได้จนเข้าสู่ภาวะปกติได้ค่ะ  ซึ่งสัญญาณเตือนว่ากำลังเข้าข่ายโรคซึมเศร้ามีดังนี้

-           รู้สึกผิดหวัง รู้สึกเหงาเมื่อถูกถอดทิ้ง ไม่มีคนเข้าใจ ไม่มีคนคอยช่วยเหลือและหมดกำลังใจ
-           รู้สึกอยากได้รับความสนใจจากคนรอบข้างหรือเพื่อนร่วมงาน
-           หมดพลัง ขาดความเชื่อมั่น และมั่นใจในตนเอง
-           เบื่อหน่ายชีวิต รู้สึกตนเองไร้ค่าไม่อยากมีชีวิตอยู่
-           ท้อถอย รู้สึกผิดเสมอ โทษตนเองอยู่ตลอดเวลา
-           นอนไม่หลับหรือหลับตลอดเวลา
-           ขาดสมาธิหลงลืมง่าย เบื่ออาหารหรือกินตลอดเวลา
-           หงุดหงิด โกรธง่าย น้อยใจง่าย
-           แยกตัวไม่อยากพบผู้คน มีความคิดอยากฆ่าตัวตายบ่อยๆ

ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 5-7% ของประชากรเลยทีเดียว โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจทำให้ต้องหย่าร้าง ออกจากงาน หรือฆ่าตัวตายเลยทีเดียว 

ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้านั้น พบว่าพันธุกรรม มีส่วนข้อนข้างสูงในการทำให้เกิดโรคซึมเศร้าค่ะ หรือหากมีสิ่งใดมากระตุ้นให้เกิดความเครียด หรือสารเคมีพวกสารสีโรโทนิน นอร์เอปิเนพริม และโดปามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมองทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ค่ะ นอกจากนี้ยังรวมถึงความเครียด การสูญเสียต่างๆ โรคทางกายที่เป็นไม่ว่าอัมพาต โรคหัวใจทำให้เกิดภาวะเครียด และหากปล่อยไว้นานไม่รักษาและยังปรับสภาพจิตใจไม่ได้จะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าจนถึงอยากฆ่าตัวตายได้ค่ะ ซึ่งระดับของอาการซึมเศร้านั้นมี 3 ระดับคะ

1.    ระดับบางเบา คืออาจเกิดขึ้นรบกวนการทำงาน การเรียน การนอนบ้าง แต่เกิดเป็นบางครั้งแล้วหายไป ไม่ได้เกิดบ่อยๆ
2.    รุนแรงเรื้อรัง จะทำให้สูบเสียความสามารถในการทำงาน มีความรู้สึกที่ไม่ดีขึ้น
3.    รุนแรงเฉียบพลัน คือมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็วมาก เช่นพูดมาก กระฉับกระเฉงมากเกินเหตุ มีพลังเหลือเฟือ มีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจ ผู้ป่วยอาจหลงผิด หายไม่ได้รับการรักษาจะกลายเป็นโรคจิตเอาได้ค่ะ

การรักษาโรคซึมเศร้า
1.       ยา เพื่อช่วยปรับสื่อประสาทสมองให้สมดุล
2.       ทำจิตบำบัดให้คนไข้ ถ้ามีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ก็แก้ที่การควบคุมอารมณ์
3.          สังคม บำบัดฟื้นฟูให้คนไข้มีกิจกรรมทำหลังจากไปเรียน ไปทำงาน เพื่อฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติได้ไว  เมื่อเทียบกับคนกินยาแต่เก็บเนื้อเก็บตัว ไม่ยอมสุงสิงกับใครเลยนะคะ ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้านี้นั้นมักเริ่มเป็นตอนอายุ 25 ปี และอาจเป็นไปในระยะยาว ต้องเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ไม่ต่างอะไรกับโรคเบาหวาน ความดันเลยค่ะ เพราะต้องทานยาควบคุมไม่ให้อาการกำเริบขึ้นมาอีก

แต่หากทานยาจนครบแล้ว หมอจะให้หยุดยาแล้วเฝ้าสังเกตดูอาการ เพราะอาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้ เหมือนกับโรคมะเร็ง ที่ฆ่าเชื้อไปหมดแล้ว แต่ต้องเฝ้าดูอาการว่าจะกลับมาเป็นซ้ำอีกหรือเปล่า ดังนั้นโรคนี้จึงต้องสังเกตดูอาการบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น