เข้าใจโรคไอบีเอส ลำไส้แปรปรวน

 

คุณเคยมีอาการเหล่านี้หรือเปล่า จุก เสียด แน่นท้อง เรอหรือผายลมสลับกับท้องผูก ลองกินยาผิดๆ ถูกๆ แล้วก็ยังไม่รู้ว่าเกิดจากอะไรกันแน่ ซึ่งหากคุณเคยมีอาการดังกล่าวข้างบนดังที่กล่าวมาเป็นสัญญาณเบื่องต้นของการเกิดโรค IBS หรือโรคลำไส้แปรปรวนแล้วค่ะ  เกิดจากการทำงานผิดปกติของลำไส้ กระเพาะอาหารกับลำไส้ทำงานไม่สมดุลกัน จึงมีปัญหากับระบบขับถ่าย ไม่ท้องผูกก็ท้องเสีย หรือเดี๋ยวท้องเสียสลับท้องผูกเลยก็มี บางรายมีอาการไม่ชัดเจนด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้แน่นอนว่า สร้างความหงุดหงิดกับผู้เป็นไม่ใช่น้อย ยิ่งถ้าเป็นมานานราว 3 เดือนแล้วให้สันนิฐานได้เลยว่าเป็นโรคที่เกิดจาก IBS คุกคามแล้วแน่นอนค่ะ ส่วนสาเหตุที่เป็นยังไม่ทราบแน่ชัดนะคะ เพราะมีด้วยกันหลายสาเหตุ มีทั้งเกิดจากการเคลื่อนไหวทางเดินอาหารผิดปกติ หรือระบบประสาทรับรู้ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า จึงทำให้ขับถ่ายบ่อยหรือขับถ่ายได้ง่าย แถมบางรายยังเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ รวมถึงมีแบคทีเรียในลำไส้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังรวมถึงพฤติกรรมการกิน หรือใช้ชีวิตประจำวัน ที่ทำให้เกิดโรค IBS เช่นชอบทานของเปรี้ยว มะขาม มะนาว หรืออาหารรสเผ็ดจัดจ้าน ลำไส้เกิดการปรับสภาพไม่ทันจึงทำให้เกิดการถ่ายของเหลว คล้ายๆ ท้องเสียนั่นเองค่ะ บางรายพบว่าเกิดจากภาวะเครียด วิตกกังวล สิ่งเหล่านี้ทำให้ลำไส้แปรปรวนได้ แต่โรคนี้ ไม่ใช่โรคที่หน้ากลัวหรือร้ายแรงอะไรนะคะ สามารถมีอายุขัยที่ยืนยาวได้ตามปกติ เพียงแต่สร้างความรำคาญในการใช้ชีวิตเพียงแค่นั้น เพราะเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย เดี๋ยวถ่าย เดี๋ยวเรอ เดี่ยวนอนไม่หลับ พาลให้หงุดหงิดส่งผลต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างมาก

สำหรับผู้ที่ที่สงสัยหรือกำลังเป็นอยู่ ควรได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี แม้ว่าโรค IBS จะไม่ใช่โรคติดต่อหรือร้ายแรงอันตรายถึงชีวิต เพราะยังมีโรคอื่น ๆที่คล้ายกับโรคลำไส้แปรปรวนซึ่งหากบ่อยไว้อาจเป็นอันตรายได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ภาวะดูดซึมน้ำตาลแล็กโทสไม่สมบูรณ์ และน่ากลัวที่สุดอาจเป็นมะเร็งลำไส้ของทางเดินอาหารได้ ยิ่งหากคุณมีประวัติหรือสัญญาณผิดปกติดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์ทันทีนะคะ

เช่นมีน้ำหนักลดลงอย่างผิดปกติ อาการเริ่มรุนแรงขึ้น ถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดท้องอย่างรุนแรง มีไข้ ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้หรือญาติสายตรง เข้ารีบเข้ามาปรึกษาแพทย์เพราะอาจไม่ใช่โรค IBS แต่อาจร้ายแรงกว่าก็ได้ค่ะ จึงไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยอาการเหล่านี้อยู่กับตัวไว้นานๆ 

ส่วนการรักษานั้น หากมีอาการไม่มาก แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองค่ะ เช่นให้รับประทานอาหารสด มีใยอาหาร ไม่ทานรสเผ็ด เปรี้ยวจนเกินไป เพราะจะทำให้ลำไส้ทำงานไม่สมดุล มีแก๊สในลำไส้อาหารได้ หรือให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้ เช่นของหมักของดอก กาแฟ กะหล่ำปลี เพราะจะทำให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารไม่หมด ไม่ให้ตกอยู่ในภาพเครียด ทำให้ลำไส้บีบตัวผิดปกติจนเกิดอาการปวดเกร็งท้องได้

สำหรับใครที่มีอาการรุนแรง ท้องเสียมาก ๆ หรือท้องผูกเรื้อรัง ถ้ามีอการปวดเกร็งท้อง แพทย์จะให้ยาลดอาการเกร็งหรืออาการท้องเสียจะให้ยาเพิ่มใยอาหารในลำไส้ เพื่อกันการบีบตัวของลำไส้ให้บีบตัวได้ลดลงค่ะ และเป็นการเพิ่มน้ำในลำไส้อีกด้วย เพียงปฏิบัติตัวตามคำสั่งแพทย์มาตามนัด เพราะโรคนี้ต้องรักษากันระยะยาว ไม่เครียด อาการจึงจะดีขึ้นค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น