โรคอัลไซเมอร์



โรคอัลไซเมอร์ หลายคนรู้จักกันดีเพราะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองที่ถูกทำลายจนสูญเสียความทรงจำ ซึ่งจะพบได้มากกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุ 75 ปี ขึ้นไปไม่ว่าใครก็สามารถป่วยได้ ซึ่งสาเหตุของโรคนี้ไม่แน่ชัด แต่เป็นที่ระบบประสาทถดถอย หรือเสื่อมนั่นเองค่ะ
 
อาการเบื้องต้นมักจะค่อยเป็นค่อยไป จะสังเกตได้ยากแต่เมื่อเวลาผ่านไป อาการผู้ป่วยจะเริ่มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทบต่อความทรงจำ ความคิด การใช้เหตุผล หลง ๆลืมๆ ไม่สามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งอาการหลงๆ ลืมๆนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นตลอด ขึ้นๆ ลงๆ หงุดหงิด โมโหง่ายจนความจำเริ่มเลอะเลือนขึ้น ไม่รู้จักคู่ครอง รับประทานมั่วแม้แต่อุจจาระคือไม่สามารถควบคุมตนเองได้เลย
โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มักไม่ทราบขีดจำกัดของความสามารถที่ตนเองมีทั้งนั้น เพราะยังมองว่าตนเองสามารถทำอะไรหลายๆ อย่างได้อยู่ แต่ในระยะท้ายของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะเริ่มสับสน ร่างกายเริ่มทรุดโทรมลง ต้องนั่งหรือนอนเป็นประจำ จึงต้องพึ่งพาคนอื่นมากขึ้น ทางครอบครัวของผู้ป่วยจึงควรทำความเข้าใจกับโรคนี้และดูแลท่านให้ดีๆนะคะเพราะความเสื่อมโทรมร่างกายและการถดถอยในความทรงจำเป็นเรื่องธรรมดา ธรรมชาติของชีวิตที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

การรักษาโรคอัลไซเมอร์นั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคได้ คือต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงความเครียด ฝึกฝนการใช้สมองเคยเห็นผู้เฒ่าผู้แก่สมัยก่อนไหมค่ะ ที่จะเล่นไพ่ตองกัน นั่นก็คือการพัฒนาสมองของพวกท่านอย่างหนึ่งค่ะ ด้วยการกระตุ้นให้ใช้ความคิด ฝึกการเชื่อมโยงเรื่องราว บวกลบเลข และหาสังคมเพื่อนฝูง เพื่อฟื้นความทรงจำ

แต่หากผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยใช้รักษาทางจิตสังคมเป็นการรักษาแบบไม่ใช้ยา เช่นใช้ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด หรือนำกิจกรรมเรื่องราวในอดีตให้ลำลึก ให้ผู้ป่วยเล่าเหตุการณ์หรือรำลึกภาพถ่ายแต่ต้องให้เวลากับผู้ป่วยในการตอบคำถาม เพราะสมองได้รับความเสียหายทำให้เชื่องช้า ควรทำให้ผู้ป่วยคลายความกังวล โดยบอกเป็นขั้นตอนทีละลำดับอย่าช้า ๆเพื่อให้ผู้ป่วยทำตาม และให้ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ 

ส่วนการให้ยารักษาอาการความจำเสื่อมนั้น จะให้ยาพวก Donezpezil , Rivastigmin, Galantamine, และ Memantine ในการบำรุงสมองฟื้นความทรงจำ นอกจากนี้ครอบครัวควรให้ความใกล้ชิดดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ทำใจ ยอมรับ อดทน ไม่ทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรก็ทำ เพราะความจำขาดหาย อาจหลงๆ ลืมๆ เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ง่าย และควรพาผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินอาการต่างๆ และติดตามการใช้ยา หรือกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ไม่ให้เกิดขึ้นค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น