รับมือกับโรคอีสุกอีใส



โรคอีกสุกอีใส ถือเป็นโรคยอดฮิตที่ระบาดมาในช่วงอาการเย็นๆ โดยเฉพาะฤดูหนาว ซึ่งโรคนี้จะไม่เลือกเพศและวัย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มีสิทธิติดเชื้อได้เช่นกัน ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส Varicella zoster virus และเป็นเชื้อชนิดเดียวกันกับโรคงูสวัด สามารถติดต่อได้ทางเดินหายใจ การไอ จาม หรือสัมผัสใช้ของร่วมกับผู้เป็นโรค โดยปกติอาการของโรคนี้จะหายประมาณ 2-3 สัปดาห์ สะเก็ดตุ่มก็จะหลุดร่วงออก

อาการของโรคอีสุกอีใส เริ่มแรกๆ จะมีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารสิ่งที่ชอบที่อยากทานก็ไม่อยาก ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และจะมีผื่นและเม็ดใสๆ ขึ้น จนเม็ดแตกจะเป็นสะเก็ดของแผลเป็น ตุ่มใสๆ นี้จะกระจายไปทั่วร่างกาย ไม่ว่าใบหน้า ลำตัว และจะมีอาการคัน 2-4 วัน บางคนเป็นในปาก ขึ้นลิ้น มีอาการเจ็บคอ ซึ่งผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงกว่าเด็กเล็กมาก และเมื่อตุ่มหลุดตกสะเก็ดแล้ว เมื่อหายไป เชื้อจะหลบอยู่ตามปมประสาท ซึ่งสามารถเป็นงูสวัดภายหลังได้เช่นกันค่ะ

ผู้ป่วยจึงต้องระวังสุขภาพให้ดีๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือโรคแทรกซ้อนบนผิวหนัง ทำให้เกิดแผลเป็นตามมา หรือเชื้อกระจายเข้ากระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะโรหิตเป็นพิษปอดบวมได้ โดยเฉพาะผู้ใหญ่หากมีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อไวรัสอีสุกอีใสนี้อาจกระจายรุกรามไปยังอวัยวะภายใน พวกปอด สมองและตับได้

ส่วนการรักษานั้น โรคนี้เป็นเองก็หายเองได้ เพราะจะมีไข้เพียงไม่กี่วัน จากตุ่มใสๆ ก็จะตกสะเก็ดและค่อยๆ หายไปใน 3 สัปดาห์ ในช่วงระยะที่ป่วยนี้ควรดื่มน้ำให้มากๆ หรือหากมีไข้ควรรับประทานยาพาราเซตามอล เพื่อลดอาการตัวร้อน แต่ไม่ควรรับประทานแอสไพริน อาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

นอกจากนี้ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด พอกสบู่ฆ่าเชื้อ เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกปนเปื้อนในแผลและป้องการการติดเชื้อแบคทีเรีย หลีกเลี่ยงการแกะหรือเก่าตุ่ม ควรใช้วิธีชุบน้ำเกลือล้างแผลหรือทายาช่วยลดคันได้ ที่สำคัญควรระมัดระวังไม่ให้เชื้อแพร่ไปสู่ผู้อื่น ซึ่งระยะแพร่เชื้อนี้คือตั้งแต่ระยะ24 ชั่วโมงก่อนมีผื่นขึ้น จนกระทั่งถึงระยะ 6 วันหลังผื่นขึ้น จึงต้องดูแลตนเองให้ดีๆ ค่ะ พยายามตัดเล็บให้สั้น  ไม่แกะเกาตุ่มคัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อหรือการติดเชื้อกลายเป็นตุ่มหนองได้

สำหรับใครที่ยังไม่เคยเป็นโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ สามารถฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคอีสุกอีใสได้ หากอายุ 1-12 ปี ฉีดเพียงเข็มเดียวเท่านั้นแต่หากอายุ 13 ปีขึ้นไปถึงวัยผู้ใหญ่ อาจสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่ดีเท่ากับเด็กเล็ก จึงต้องฉีดเข็มห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน และต้องทำความเข้าใจด้วยว่า การฉีดวัคซีนนี้ไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ทุกคน จะป้องกันได้ร้อยละ 85-95 % เท่านั้น

ได้รู้จักโรคอีสุกอีใสและวิธีดูแลตนเองกันแล้วนะคะ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือผู้ป่วยไม่ควรเครียดหรือวิตกกังวลกับงาน หรือแผลเป็นควรดูแลรักษาตนเองให้ดีๆ จนกว่าจะหายเพื่อป้องกันการติดเชื้อและไม่ให้เชื้อกระจายไปสู่ผู้อื่นนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น